ประเพณีไทย ตอน เทศกาลสารท

เทศกาลสารทเป็น ประเพณีไทย ที่จัดขึ้นในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งมีการทำบุญใส่บาตรพระด้วยกระยาสารท และกล้วยไข่ อันเป็นธรรมเนียมประเพณีสืบต่อกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ

# ประวัติความเป็นมา #
คำว่า สารท เป็นภาษาอินเดีย หมายถึง ฤดู ฤดูสารทของอินเดียเป็นช่วงเวลาที่พืชพรรณธัญชาติและผลไม้เริ่มสุก จึงเป็นช่วงที่ชาวไร่ชาวนามีความยินดีปรีดา ในสมัยโบราณนิยมนำผมไม้ที่เก็บเกี่ยวได้ครั้งแรกไปบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนนับถือ เพื่อเป็นการขอบคุณที่บันดาลให้ผลิตผลในไร่นางดงามได้ผลสมบูรณ์ คติความเชื่ออันนี้ในเมืองไทยแต่ครั้งโบราณก็มีเช่นเดียวกัน จึงนิยมนำผลที่เก็บเกี่ยวได้ในครั้งแรก ไปทำบุญถวายพระเพื่อความเป็นสิริมงคล

# ขนมกระยาสารท #
ขนมกระยาสารท ประกอบด้วย ข้าวเม่า ข้าวตอก ถั่ว งา และมะพร้าว นำมากวนกับน้ำตาล สมัยโบราณมีการกวนกระยาสารทกันทุกบ้าน ไม่เหมือนปัจจุบันซึ่งหาซื้อทำบุญหรือหาซื้อกินได้ง่าย เพราะมีแม่ค้านำมาขายในตลาด โดยเฉพาะในหน้าทำบุญวันสารทจะมีมากเป็นพิเศษ แต่กระยาสารทมีรสหวานจัด จึงต้องรับประทานกับกล้วยไข่ซึ่งจะสุกในหน้าเทศกาลสารทไทยพอดี การนำกระยาสารทใส่บาตรถวายพระจึงถวายกล้วยควบคู่ไปด้วย เมื่อทำบุญด้วยกระยาสารทและกล้วยไข่แล้ว ก็มีการกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับ อันเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวไทย


สำหรับบทความเกี่ยวกับ ประเพณีไทย บทความนี้ ตัวผมก็หวังว่าจะทำให้ท่านทั้งหลายได้รู้จักประเพณีของประเทศไทยเราเพิ่มมากขึ้นและอย่าลืมนำไปบอกต่อแก่คนรู้จักคนอื่นๆ ด้วยนะครับ จะได้ช่วยกันอนุรักษ์รักษาเอาไว้ให้ลูกหลานต่อไป
Share this Google+