ประเพณี คือ อะไร ?
ในเบื้องต้นก่อนที่เราจะไปศึกษาเกี่ยวกับ ประเพณีไทย ควรทำความเข้าใจกันเสียก่อนว่า ประเพณี คือ อะไร พจนานุกรมภาษาไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำนิยามหรือกำหนดความหมายของคำว่า ประเพณี ไว้ว่า "ขนบธรรมเนียมแบบแผน" ขนบ คือ ระเบียบแบบอย่าง ธรรมเนียม คือ ที่นิยมใช้กันมา แล้วยังมีคำว่า จารีต ซึ่งในพจนานุกรมฉบับข้างต้นได้ให้นิยามไว้ว่า ความประพฤติธรรมเนียมประเพณี เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าคำว่า ประเพณี ธรรมเนียมประเพณี ขนบธรรมเนียมประเพณี จารีตประเพณี อาจให้ความหมายได้ว่า "ความประพฤติที่คนในส่วนรวมถือกันธรรมเนียมหรือเป็นระเบียบ แบบแผน และสืบต่อกันมานาน จนลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกัน"
ประเพณีเกิดจากความเชื่อ อาจเป็นความเชื่อในสิ่งที่ที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ เช่น อำนาจของดินฟ้าอากาศหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ประเพณีมักเริ่มที่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งก่อน เมื่อได้ปฏิบัติจนเป็นนิสัย เช่น ความเคยชินแล้ว และเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี อาจชักชวนให้บุคคลอื่นหรือกลุ่มอื่นปฏิบัติตาม หรือกลุ่มอื่นเห็นดีเห็นงามด้วย แล้วปฏิบัติตามสืบต่อกันมา นิสัยหรือการปฏิบัติที่สืบทอดกันมานานก็กลายเป็นประเพณี เช่น ชาวเอสกิโมปล่อยให้คนชราตายบนน้ำแข็งโดยมีความคิดว่าคนชราไม่สามารถเดินทางไปหาที่อยู่ใหม่ไกลๆ เพื่อหาอาหารและเพื่อการมีชีวิตอยู่ได้ ซึ่งคนชราเอสกิโมจะรูหน้าที่นี้และยินดีตายด้วยความเต็มใจเพื่อลูกหลานจะได้ไม่ลำบากและเป็นภาระ
สำหรับบทความนี้ก็ได้พูดถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประเพณีไปพอสมควรนะครับ บทความต่อๆ ไปผมจะมาพูดถึง ประเพณีไทย ของเราว่ามีอะไรกันบ้างและแต่อย่างมีความเป็นมาและข้อปฏิบัติอย่างไร สำหรับบทความนี้ขอจบไว้เพียงเท่านี้ก่อนครับ