ประเพณีไทย - ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ :: ประเพณีภาคเหนือ ::

หลายวันมากแล้วครับที่ผมไม่ได้มาเขียนบทความเกี่ยวกับ ประเพณีไทย ให้หลายๆ ท่านที่อาจติดตามบล็อกแห่งนี้ได้อ่านกัน ก็ต้องกล่าวขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยแล้วกันนะครับและบทความนี้ก็คงจะเป็นโยชน์เหมือนกันอีกหลายๆ บทความก่อนหน้านี้นะครับ มาเริ่มกันเลยครับ

แต่เดิมนั้น เราถือเอาวันแรม 1ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคติแห่งพระพุทธศาสนา ซึ่งถือช่วงเหมันต์หรือหน้าหนาวเป็นการเริ่มต้นปี ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ คือถือเอาวันขึ้น 1ค่ำเดือน 5 เป็นวันปีใหม่ ครั้นภายหลัง เมื่อทางราชการนิยมใช้วันทางสุริยคติ จึงได้ถือเอาวันที่ 1 เมษายน เป็นวันปีใหม่มาตั้งแต่พุทธศักราช 2435 และเมื่อถึงปี พ.ศ. 2484 ทางราชการก็ได้มีการประกาศเปลี่ยนแปลง ให้เอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับบรรดาอารยประเทศ

บางทีอาจจะเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า แต่ก่อนเราถือวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยด้วย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะวันสงกรานต์นั้นตรงกับวันที่ 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี จนในปี พ.ศ. 2432 วันสงกรานต์นี้ตรงกับวันที่ 1 เมษายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 5 จึงประกาศให้ใช้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ และได้ใช้เรื่อยมา สาเหตุก็เพราะสอดคล้องกับธรรมเนียมโบราณ คือในปีนั้นตรงกันทั้งวันสงกรานต์และวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 ได้มีการใช้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันปีใหม่ของไทยแต่นั้นเรื่อยมา แม้ว่าในปีต่อไปจะไม่ตรงกับวันสงกรานต์ ทั้งนี้เพื่อให้มีกำหนดวันทางสุริยคติที่แน่นอนตายตัวลงไป

จันทรคติ คือ การนับวันเดือนปี โดยใช้การโคจรของพระจันทร์เป็นเกณฑ์ คือ นับขึ้นแรม นับเดือนอ้าย ยี่ สาม สี่ ฯลฯ นับปีชวด ฉลู ขาล เถอะ ฯลฯ เรียกว่า การนับทางจันทรคติ

สุริยคติ คือ การนับวันเดือนปี โดยใช้การโคจรของพระอาทิตย์เป็นเกณฑ์ คือวิธีการนับอย่างในปัจจุบัน เช่น วันจันทร์ อังคาร พุธ เดือน มกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม และปี พ.ศ. ปี ค.ศ. ต่างๆ ฯลฯ

ต่อมาในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2483 คณะรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ประกาศให้ใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับประเทศอื่นๆ เป็นสากลทั่วโลก และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

:: การทำบุญวันขึ้นปีใหม่ ::
เมื่อใกล้ถึงเทศกาลปีใหม่ ประชาชนจะพากันเก็บกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับไฟและธงชาติตามสถานที่สำคัญๆ ครั้นถึงวันที่ 31 ธันวาคม ก็จะมีการทำบุญเลี้ยงพระ ไปวัดเพื่อประกอบกิจกุศลต่างๆ เช่น ฟังพระธรรมเทศนา ถือศีลปฏิบัติธรรม แต่บางคนก็แค่ทำบุญตักบาตร เช้าวันที่ 1 มกราคม จะมีการทำบุญตักบาตร ไปท่องเที่ยวหรือเยี่ยมเยือนญาติผู้ใหญ่ผู้ที่เคารพนับถือ มีการมอบของขวัญและบัตรอวยพรให้แก่กัน สำหรับในต่างจังหวัด จะมีการทำบุญเลี้ยงพระที่วัด และอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ญาติที่ล่วงลับ กลางคืนมีการละเล่นพื้นบ้าน หรือ จัดมหรสพมาฉลอง


:: คติข้อคิดในวันปีใหม่ ::
เมื่อวันเวลาผันเปลี่ยนเวียนไปครบ 1 ปี เราได้อยู่รอดปลอดภัยมาจนถึงวันขึ้นปีใหม่ ขอให้ลองมองย้อนหลังกลับไปคิดดูว่า วันเวลาที่ผ่านมานั้นเราได้ใช้มันอย่างคุ้มค่าหรือเปล่า และได้ทำคุณงามความดีอันใดไว้บ้า และควรหาโอกาสกระทำให้ยิ่งๆ ขึ้นทุกปี ในขณะเดียวกันเราได้กระทำความผิดหรือสิ่งใดที่ไม่ถูกต้องไว้หรือไม่ หากมีต้องรีบปรับปรุงแก้ไขตัวเอง

และนี้คือบทความเกี่ยวกับประเพณีปีใหม่ของชาวเหนือ หวังว่าบทความที่ผมนำเสนอบทความนี้คงมีประโยชน์ต่อใครหลายๆ คนนะครับ แล้วยังไงอย่าลืมติดตามบทความเกี่ยวกับ ประเพณีไทย บทความอื่นๆ ด้วยนะครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมบล็อกแห่งนี้ครับ
Share this Google+