ประเพณีไทย - พิธีหมั้น ตอน การยกขันหมากหมั้น

สำหรับบทความที่แล้วผมได้นำเสนอเกี่ยวกับการจัดขั้นหมากหมั้นไป ทั้งในส่วนของการพานขันหมาพลูและพานสินสอดทองหมั้น บทความนี้เรามาต่อกันในส่วนของการยกขันหมากหมั้นและสุดท้ายในบทความต่อไปผมก็จะมาพูดเกี่ยวกับการนับสินสอดทองหมั้นกันนะครับ มาเริ่มกันเลยดีกว่า

หลังจากการเตรียมตัวทั้งในส่วนของการสู่ขอและเตรียมขั้นหมากไปแล้วก็รอฤกษ์ยามงามดีมาถึงเมื่อมาถึงเวลานั้น เฒ่าแก่ขันหมากหมั้น จะทำการยกขันหมากหมั้นไปยังบ้านของฝ่ายหญิง ซึ่งทางฝ่ายหญิงต้องจัดเฒ่าแก่ไว้ต้อนรับเช่นกัน เมื่อขันหมากยกมาถึง จะมีเด็กเล็กๆ แต่งตัวน่ารักโดยมากใช้เด็กผู้หญิงซึ่งทางฝ่ายหญิงจัดเตรียมไว้ทำหน้าที่ถือพานหมากออกมารับ ในพานมีหมากพลูที่เจียนและจีบเป็นคำๆ ใส่ไว้นับเป้นจำนวนคู่ พอขันหมากหมั้นมาถึงเด็กจะส่งพานหมากพลูให้กับเฒ่าแก่ของฝ่ายชาย เมื่อเฒ่าแก่ฝ่ายชายรับแล้วก็จะให้เงินเป็นของขวัญพร้อมทั้งคืนพานหมากให้ด้วย ซึ่งก่อนคืนอาจรับไปเคี้ยวกินพอเป็นพิธี


หลังจากเด็กรับพานหมากกลับคืนมาแล้ว จะเดินนำไปยังสถานที่ซึ่งทางฝ่ายหญิงจัดไว้เพื่อทำพิธีหมั้น เมื่อวางขันหมากและบริวารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากพักดื่มน้ำดื่มท่าพอหายเหนื่อยแล้วจึงจะค่อยเริ่มทำพิธีอื่นๆ ต่อไป

ก็จบไปแล้วนะครับสำหรับขั้นตอนในการยกขันหมากของฝ่ายชายและการรับขันหมากของฝ่ายหญิง เป็นยังไงบ้างละครับ ประเพณีไทย ของเราบางคนก็คงเคยทำหน้าที่ถือพานขันหมากตอนเด็กๆ หรืออาจจะเคยมีส่วนร่วมในพิธีการเหล่านั้นก็ถือได้ว่าเป็นประสบการณ์อันดีในอนาคตของเราหากได้มีโอกาสแต่งงานหรืออาจได้เป็นเฒ่าแก่ไปสู่ขอก็จะได้รู้ขนบธรรมเนียมประเพณีว่าเป็นอย่างไรต้องทำอะไรบ้าง สำหรับตอนต่อไปก็ยังคงอยู่ในหัวข้อพิธีหมั้นอยู่ครับแต่จะเป็นเรื่องของการนับสินสอดทองหมั้น แล้วผมจะมานำเสนอต่อในเร็วๆ นี้นะครับ
Share this Google+