ประเพณีไทย - พิธีหมั้น ตอน การจัดขันหมากหมั้น

สวัสดีครับ สำหรับวันนี้ก็มี ประเพณีไทย มานำเสนอกันเหมือนเคยซึ่งประเพณีในวันนี้ที่ผมจะเอามานำเสนอนั้นก็คือประเพณีเกี่ยวกับการหมั้นครับ หลายๆ คงจะเคยผ่านประสบการณ์ในเรื่องนี้กันมาบ้างแล้วใช่หรือเปล่าครับ บางคนก็อาจจะไม่เคย แต่ก่อนอื่นคงต้องบอกก่อนเลยว่า ณ ปัจจุบันสังคมไทยเราไม่ค่อยให้ความสำคัญกับประเพณีเหล่านี้เท่าไรสังเกตได้จากปัญหาสังคมที่เกิดขึ้น อาทิ ตั้งครรภ์ก่อนแต่งงาน อยู่กินกันก่อนแต่งงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้วในสังคมไทยดังนั้นผมคิดว่าประเพณีที่ผมจะมานำเสนอนั้นคงจะมีส่วนช่วยในการปลูกฝังค่านิยมอันดีเกี่ยวกับการครองเรือนให้กับคนไทยในยุคสมัยนี้บ้างไม่มากก็น้อยครับ มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับสำหรับหัวข้อในการวันนี้จะพูดเกี่ยวกับการจัดขันหมากหมั้นครับ

หลังจากที่ฝ่ายชายส่งเฒ่าแก่หรือพ่อสื่อแม่สื่อ ไปเจรจาสู่ขอกันเป็นที่ตกลงแล้ว บางครั้งทางผู้ใหญ่ต้องการให้มีการหมั้นกันไว้สักระยะหนึ่งก่อน แล้วจึงทำการแต่งในภายหลัง เพื่อให้หนุ่มสาวมีโอกาสดูใจหรือศึกษาอุปนิสัยใจคอกันได้มากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ต้องมีการกำหนดฤกษ์ยามในวันหมั้น รวมทั้งกำหนดสินสอดทองหมั้นหรือที่เรียกว่า ขันหมากหมั้น

เมื่อถึงกำหนดฤกษ์ตามที่ได้ตกลงกันไว้ ฝ่ายชายจะจัดเตรียมขันหมากหมั้นเพื่อยกไปทำการหมั้นฝ่ายหญิง โดยมอบหมายให้เฒ่าแก่ฝ่ายชายเป็นผู้นำไปมอบให้เฒ่าแก่ฝ่ายหญิง เฒ่าแก่ของฝ่ายชายนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นคนเดียวกับที่ไปทำการเจรจาสู่ขอ หรือจะให้ผู้อื่นทำหน้าที่แทนก็ได้ เพราะไม่ค่อยถือเหมือนเฒ่าแก่ขันหมากตอนแต่งซึ่งควรจะเป็นเฒ่าแก่คนเดียวกับที่ไปเจรจาสู่ขอ เฒ่าแก่ขันหมากหมั้นนิยมใช้สามีภรรญาที่อยู่กินกันมาด้วยความผาสุก โดยไปด้วยกันทั้งคู่เป็นการถือเคล็ดชีวิตคู่ ในบางแห่งอาจเป็นฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงเป็นผู้ทำหน้าที่เต่าแก่ขันหมากหมั้นเพียงคนเดียวก็ได้

เกี่ยวกับการจัดขันหมากหมั้น นอกจากเงินทองค่าสินสอดตามที่ตกลงกับทางฝ่ายหญิงไว้แล้ว สิ่งที่ต้องจัดเตรียมไปในขันหมากหมั้นนั้น ในแต่ละท้องถิ่นอาจแตกต่างกันไป เช่น ใช้หมากดิบทั้งลูก 8 ผล พลู 4 เรียง บรรจุลงในขันใบหนึ่ง สำหรับอีกขันหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าใช้บรรจุเงินทองหรือของหมั้น เช่น สร้อย แหวน กำไล ฯลฯ บางทีแยกขันหมากเป็น 2 คู่ คือใส่หมากพลู 1 คู่ และใส่ของหมั้น 1 คู่ บางทีก็ไม่แยก แต่เพิ่มขึ้นใส่ใบเงินใบทอง ถุงข้าวเปลือกถั่วงาอีกขั้นหนึ่ง ไม่จัดปนอยู่ในขันหมากพลูและขันเงินขันทอง นอกจากขันหมากพลูแล้ว ยังต้องจัดเตรียมเครื่องขันหมาก อันประกอบด้วยขนมและผลไม้ มากน้อยแล้วแต่ตกลงกันไว้ บางทีอาจเพิ่ีมสุราหรือเครื่องเซ่นสำหรับไหว้ผีบรรพบุรุษก่อนทำพิธีหมั้นด้วย


ขั้นหมากพลูนั้น มีการจัดที่แตกต่างกันไป เช่น อาจมีหมากทั้งลูก 8 ผล พลู 4 เรียง หรือหมากทั้งลูก 4 ผล พลู 4 เรียง บางทีก็กำหนดหมากทั้งลูก 16 ผล พลู 3 เรียง การเรียงพลูั้นในแต่ละเรียงยังกำหนดต่างกันไปแล้วแต่ความนิยม เช่น เรียงละ 5 ใบ หรือ 8 ใบ ส่วนหมากนัั้นนอกจากจะต้องเป็นหมากทั้งลูกไม่นิยมการผ่าหรือแบ่งเป็น 2 ซีก แล้วยังควรให้อยู่ในตะแง้เดียวกันทั้ง 8 ผลหรือ 16 ผลอีกด้วย ทั้งนี้อาจะเป็นเพราะถือเคล็ดการนับเป็นคู่ และการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

สำหรับบทความต่อไปผมจะมานำเสนอเกี่ยวกับการยกขันหมากหมั้น สำหรับบทความนี้ขอจบเพียงแค่นี้ก่อนนะครับเพื่อไม่ให้บทความมีความยาวเกินไปและเพื่อเป็นการแยกหัวที่มีความแตกต่างกันไว้เพื่อสะดวกสำหรับผู้เข้ามาเยี่ยมชมในอนาคต
Share this Google+